วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561


พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ 60




พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ค่ะ
ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้

เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้
                    โดยเนื้อจะมีเยอะมาก ทีนี้ผมจะขอนําเสนอโดยใช้รูปภาพแทน


อ้างอิง https: //ictlawcenter.etda.or.th/


อ้างอิง https: //ictlawcenter.etda.or.th/



ถ้ายังจำกันได้ถึงการผลักด้น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้
เตือนความจำกันสักหน่อย เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้






1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้



อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=5795


“โพสต์ไม่คิด… ชีวิตอาจพัง” ถ้อยคำที่ถูกเผยแพร่ผ่านทางทวิตเตอร์ของกองทัพบก @armypr_news เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2560 แม้ปัจจุบันอาจจะถูกลบไปแล้ว แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวต่อการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ของประชาชน ด้วยการสื่อสารผ่านรูปว่าการแสดงความเห็นนั้นอาจนำไปสู่การติดคุกได้ เช่นเดียวกับที่ทวิตเตอร์ของกองทัพบกเคยส่ง ‘ความปรารถนาดี’ เกี่ยวกับการแชร์เนื้อหาออนไลน์ก่อนหน้านี้





อ้างอิง:https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ




วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561













ความหมาย ของ BLOGGER

Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 2 คำ บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog) โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) ซึ่งรวมกันหมายถึง “ปูมเว็บ” หรือ บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง หรือ ถ้าจะขยายความมากไปกว่านั้น Blog ก็จะหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่ด้านบนสุด ส่วนเรื่องเก่าก็จะอยู่ด้านล่างสุด ซึ่งจะมีวันที่-เวลาเขียนกำกับไว้ เป็นที่นิยมกันในหมู่มาก

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนในครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออกมา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัวเอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก
Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ

1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง
2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง

ซึ่งสามารถประเภทจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้

1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง

2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ => รับทำบล๊อกเกอร์
นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง

3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ
4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ



วิธีการทำ BOLGGER







ขั้นตอนการสร้างบล็อก 1. ให้ทําการสมัครบัญชีของ Gmail ของ google แต่ถ้าใครมีบัญชี Gmail อยูแล้วก ่ ็ทําการล็อกอินเพื่อสร้าง บล็อก ของ http://www.blogger.com/ ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อเราเข้าไปที่เว็บ www.blogger.com หน้า เพจแรกจะถามบัญชีถึงบัญชีGmail ของผู้ที่จะทําการสร้างบล็อกสําหรับนักศึกษาที่มีบัญชี Gmail อยูแล้ว ก ่ ็ กรอกชื่อบัญชี Gmail และ รหัสผานของตน ดังภาพ





หากใครยังไม่มีบัญชีให้คลิกที่เมนู Sign up เพื่อทําการสมัครบัญชี Gmail ใหม่ 





2. เมื่อเราเข้าไปที่www.blogger.com ที่ได้ทําการล็อกอินบัญชีของ Gmail แล้ว หน้าแรกของ blogger จะมีหน้าตาดังภาพ ใคลิกไปที่เมนู“บล็อกใหม่” เพื่อทําการสร้างบล็อก


3. เมื่อเราคลิกไปที่เมนูเพื่อสร้างบล็อกใหม่แล้ว ให้ทําการกรอกรายละเอียดดังนี้ คือ ตรงหัวข้อ ให้พิมพ์ชื่อ บล็อก ตรงที่อยู ให้ตั ่ ้ งชื่อ URL ซึ่งควรใช้ชื่อเป็ นภาษาอังกฤษและตัวเลข และต้องดูตรงสถานะของบล็อก ด้วยวาชื่อ ่ URL ที่ตั้ งไปนั้ นมีผู้ใช้แล้วหรือยังไม่มีผู้ใช้ มันจะแจ้งวา ่ “ที่อยูบล็อกนี ่ ้สามารถใช้ได้” เสร็จแล้ว ให้ทําการเลือกรูปแบบ จากแม่แบบวาจะให้บล็อกมีหน้าตาในการแสดงผลเช ่ ่นไร เมื่อเลือกแล้วก็ คลิกเมนู


4. เมื่อทําการสร้างบล็อกแล้ว เราจะกลับมาที่หน้าจัดการบล็อกเพื่อทําการตกแต่งบล็อกให้ดูสวยงามโดยการ ใส่รูปภาพหรือ โค๊ดต่างๆ ให้นักศึกษาทําการคลิกลูกศรสีดํา เพื่อเลือกเมนูรูปแบบ ดังภาพ


5. เมื่อคลิกเมนูรูปแบบ แล้วจะมีหน้าตาดังภาพให้คลิกที่ เมนูเครื่องมือออกแบบเทมเพลต เพื่อปรับแต่งหน้า เทมเพลตตามที่เราต้องการ


เมื่อคลิกแล้วทําการเลือกรูปเทมเพลต ตามต้องการ เมื่อเลือกแล้วให้คลิกที่ เมนู“ใช้กับบล็อก” เพื่อบันทึก รูปแบบเทมเพลต






6. เมื่อทําการเลือกรูปแบบของเทมเพลตแล้วให้กลับมาที่“รูปแบบ”อีกครั้ง เพื่อทําการใส่หัวบล็อกและ ตกแต่งบล็อกโดยคลิกเลือกเมนูแก้ไข ตรงส่วนของ ชื่อบล็อก





เมื่อคลิกเมนูแก้ไข แล้วให้คลิกที่ เมนู“เลือกไฟล์” เพื่อเลือกไฟล์ภาพที่จะนํามาเป็ นหัวบล็อกเมื่อเลือกภาพ ได้แล้วกดopenจากนั้ นระบบจะทําการอัพโหลดภาพดังกล่าวเข้าไป เมื่อระบบอัพโหลดภาพเสร็จแล้ว ให้ คลิกเลือก เมนู“แทนที่ชื่อและคําอธิบาย” เสร็จแล้วกดเมนู“บันทึก” เพื่อทําการบันทึกภาพดังกล่าวซึ่งจะเข้า ไปอยูในตําแหน ่ ่งหัวบล็อกดังภาพ







7. เมื่อทําการใส่หัวบล็อกเสร็จแล้ว ให้คลิกที่เมนู“เพิ่ม Gadget” เพื่อใส่โค๊ด ปฏิทิน นาฬิกา สถิติผู้เยี่ยมชม แล้วแต่ความต้องการของเรา แล้วคลิกเมนู“บันทึกการจัดเรียง”







8. เมื่อทําการใส่โค๊ดตกแต่งตามต้องการแล้ว ให้เลือกเมนู“หน้าเว็บ” เพื่อทําการสร้างหน้าเว็บเพจต่างๆ ตาม ต้องการคลิกที่เมนู “แสดงหน้าเว็บเป็ น” เลือกลูกศรสีดํา แล้วคลิกเลือกรูปแบบ “แท็บด้านบนสุด” แล้วกด“บันทึกการจัดเรียง” ดังภาพ




เมื่อทําการเลือกตําแหน่งของแท๊บเมนูแล้ว ให้ คลิกเมนู หน้าเว็บใหม่และเลือกลูกศรสีดํา เลือกเมนู “หน้าเว็บ เปล่า” เพื่อสร้างหน้าเพจต่างๆ




8. เมื่อคลิกเมนูสร้างหน้าเว็บแล้ว ให้ตั้ งชื่อเว็บเพจ ตรงช่อง และพิมพ์รายละเอียดลงไป แล้วคลิกที่เมนู “บันทึก”





9. เมื่อทําการสร้างเมนูเว็บเพจ แล้ว ท่านสามารถที่จะทําลิงค์ไปเว็บไซต์หรือบล็อกต่างๆ โดยคลิกที่เมนู เพิ่ ม “Gadget” แล้วเลือก ฟังกชัน ์ “รายชื่อลิงค์” แล้วคลิกเครื่องหมาย + เพื่อสร้างลิงค์ ดังภาพ





เมื่อคลิกที่ฟังชันก รายชื่อลิงค์แล้ว ให้ทําการ พิมพ์ชื่อเมนู ว ์ า่ “ Link Exchange” และ copy ลิงค์ ที่ต้องการ เชื่อมโยงของเพื่อนมาใส่ไว้ในช่อง URL ของไซต์ใหม่และ ตรงชื่อเว็บไซต์ให้ พิมพ์ชื่อ ของเว็บบั้ นๆ ที่ ต้องการทําลิงค์ เมื่อทําเสร็จ ให้คลิกที่ เมนู “เพิ่ มลิงค์” เพื่อทําการเพิ่ มลิงค์เว็บไซต์อื่นๆต่อไปแล้วคลิกที่เมนู “บันทึก” ดังภาพ




เมื่อเราทําการสร้างลิงค์เสร็จ เมื่อกดบันทึกจะมีหน้าตาดังภาพ ซึ่งในกรณีที่เราต้องการเพิ่ มลิงค์ต่อให้คลิกที่ เครื่องมือ “แกไข้ ” ดังภาพ











เราสามารถปรับเปลี่ยนความกว้างในการแสดงผลหน้าจอได้ โดยคลิกไปที่เครื่องมือเครื่องมือออกแบบเทม เพลต แล้วเลือก“ปรับความกว้าง” ดังภาพ






10. ในการสร้างบทความ ให้คลิกไปที่เมนู“บทความใหม่” ดังภาพ







ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก 
1. www.google.com 
2. http://basic-animation.com/Forums/index.php?topic=53.0